วัดทักซัง (Taktshang Goemba Monastery)

ชื่อทักซังมีความหมายว่ารังเสือหรือ (Tiger Nest) ท่านสามารถเลือกว่าจะขี่ม้าหรือจะเดินขึ้นบน วัดทักซัง ไปก็ได้ การขี่ม้าจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีซึ่งขึ้นไปได้จนถึงจุดจอดม้าและขึ้นม้าได้เฉพาะขาขึ้นเท่านั้นเพราะว่าขาลงนั้นหากนั่งม้าจะอันตรายมากการเดินทางขึ้นเขาทักซังจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 -6 ชั่วโมงในการไป-กลับและขึ้นอยู่กับความเร็วในการเดินของกรุ๊ปด้วย โดยระหว่างทางจะมีจุดแวะพักซึ่งจะเป็น Caféซึ่งเราจะพักดื่มชาและเข้าห้องน้ำ เดินขึ้นต่อเพื่อที่จะถึงช่วงสุดท้ายที่จะต้องขึ้นลงบันไดกว่า 350 ขึ้นเพื่อที่จะขึ้นไปที่ตัววัดทักซัง เมื่อถึงตัววัดจะต้องฝากอุปกรณ์อิเล็กโทรนิคทุกชนิด (ลูกค้าหลายท่านจะถามว่าจะเดินไหวไหม ต้องตอบเลยว่าทริปเราไม่รีบร้อนในการเดินขึ้นเพื่อที่แสวงบุญบนหุบเขาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เดินเรื่อย ๆชมบรรยากาศอันสวยงามบนเทือกเขา พักได้ตลอดทาง การขี่ม้าจะช่วยให้เดินขึ้นง่ายขึ้นมากเพราะว่าเมื่อถึงจุดจอดม้าจะเดินอีกไม่นานมาก หากลูกค้าท่านไดไม่สะดวกที่จะขึ้นเขาทักซังเราสามารถพาท่านไปเดินเที่ยวในเมืองพาโรแทนได้)

วัดทักซัง

วัดทักซังเป็นวัดพุทธที่มีความเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูฏาน โดยถูกสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1962 จุดเด่นอยู่ที่ตัววัดนั้นตั้งอยู่ริมผาซึ่งมีความสูงกว่า 900 เมตร ในเขตเมืองพาโร ด้วยความสูงเทียมฟ้าเช่นนี้เอง ทำให้วัดนั้นอยู่ท่ามกลางเมฆหมอกสีขาวที่ล้อมรอบวัด อีกทั้งยังสามารถชมวิวสวย ๆ ด้านล่างได้อย่างชัดเจนในวันที่ท้องฟ้าโปร่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่หมู่มวลดอกไม้ต่างพากันชูช่อสวยงาม ด้านประวัติความเป็นมานั้น มีตำนานเล่าว่า แต่ก่อนพื้นที่บริเวณนี้จะถูกสร้างเป็นวัดนั้นท่านกูรูรินโปเช ( Guru Rinpoche) หรือท่านคุรุปัทมะสัมภวะ (Guru Padmasambhava)คนภูฏานจะเรียกท่านว่า กูรูรินโปเช (ท่านกูรูรินโปเชในแถบประเทษทิเบต ภูฏาน เนปาล และบางส่วนในประเทศอินเดียในแถบเทือกเขาหิมาลัยนั้นถือว่าท่าเหมือนพระพุทธเจ้าองที่สอง โดยตามวัดต่างๆที่ภูฏานจะมีรูปปั้นของท่านแทบทุกวัด) ได้ขี่หลังเสือมาเหยียบแผ่นดินภูฏานครั้งแรกและบำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำแห่งนี้เป็นเวลา สามปี สามเดือน สามอาทิตย์ สามวัน สามชั่วโมง ครั้นจะเทศนาสั่งสอนผู้คนท่านจะกลายร่างเป็นมนุษย์เช่นเดิม และเมื่อคำสอนได้ผล ผู้คนต่างพากันเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงทำให้สถานที่นี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาจึงได้มีการสร้างวิหารขึ้นเพื่อแสดงถึงความนิยมด้านพระพุทธศาสนา และเมื่อเวลาผ่านไปเนิ่นนานทำให้ตัววิหารชำรุดทรุดโทรม จนท้ายที่สุดในปี ค.ศ. 1962 จึงมีการสร้างวัดทักซังหรือวัดรังเสือขึ้นมา และได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1998 จากเหตุเพลิงไหม้

จุดที่1: จุดขึ้นม้า

ตรงจุดนี้ลูกค้าต้องเลือกว่าจะขึ้นม้าหรือไม่ขึ้น เราแนะนำว่าช่วงฝนตกอย่าขึ้นม้า สำหรับคนภูฏานที่นี่ถือว่าเหมือนเป็นสถานที่ๆศักดิ์สิทธิ์มากๆฉนั้นคนภูฏานจะไม่ขึ้นม้าเพราะว่าเค้าไม่อยากไปเบียดเบียนม้า แต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าเราแข็งแรงพอหรือไม่

วัดทักซัง วัดทักซัง

เดินขึ้นช่วงที่1 หรือขึ้นม้า

หลังจากจุดขึ้นมาเราจะเดินหรือนั่งม้าขึ้นไปบนเขา เป็นระยะครึ่งทางของการเดินทางขึ้นไปยังทักซัง ซึ่งม้าจะหยุดอยู่ที่คาเฟ่บนเขา ข้อดีของคนที่ไม่ขึ้นม้าคือสามารถถ่ายรุปได้ตลอดทาง เดินๆหยุดๆไปตลอดทาง ท่านจะได้วิวช่วงเช้าซึ่งจะถ่ายรูปสวย สำหรับคนนั่งม้านั้นจะไม่ให้ถ่ายรูปขณะอยู่บนหลังม้า

คำแนะนำสำหรับคนที่ขึ้นม้า: ถ้าม้ากำลังขึ้นทางชันต้องช่วยเค้าหน่อยโดยการเอนตัวไปด้านหน้า ถ้าม้าลงทางชันให้เอนตัวถอยหลังช่วยเค้าแทน

คำแนะนำสำหรับคนไม่ได้ขึ้นม้า: เราแนะนำให้เดินไปทางลัดเพราะจะประหยัดเวลากว่าเดินเส้นทางเดียวกับม้า ซึ่งหน้าฝนจะเละมากๆ ปลอยภัยไม่ได้ชันมากมาย แต่เหนื่ยน้อยกว่าแน่นอน ถ้าอยากเดินทางโดยไม่เหนื่อยมากให้เดินช้าๆไม่ต้องรีบ

วัดทักซัง วัดทักซัง วัดทักซัง วัดทักซัง วัดทักซัง วัดทักซัง

เดินขึ้นช่วงที่ 2

เดินขึ้นช่วงที่สองจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่าๆ ไปถึงยอดที่อยู่ในระดับที่เสมอกับวัดทักซังพอดี

ช่วงสุดท้าย

ช่วงนี้จะเป็นบันไดซึ่งจะมีราวเหล็กกั้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศภูฏาน:

หากท่านสนใจ ทัวร์ภูฏาน แพคเกจภูฏาน แบ็คแพ็คภูฏาน เดินทางส่วนตัวไปภูฏาน พักโรงแรม5ดาวภูฏาน ราคาเป็นกันเองไม่แพง ไม่ต้องเสี่ยงโอนเงินเอง หรือ ปรึกษาเรื่อง เดินทางไปภูฏาน สามารถโทรหาเราได้ที่ 02-0860080 -1 เราการันตีเรื่องวีซ่าภูฏาน พร้อมเอกสารที่ท่านจะได้รับก่อนเดินทางไปภูฏาน

ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 9:00 – 18:00

การท่องเที่ยวภูฏาน : https://www.tourism.gov.bt

 

Comments

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.